วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติประเพณีลอยกระทง

ประวัติและประเพณีการลอยกระทง


 

ประเพณีวันลอยกระทงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัย กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ผู้ให้กําเนิดก็คือนาง
นพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ซึ่งมีตําแห่งเป็นพระ สนมเอกแห่งพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย พระราชพิธีลอยกระ
ทง แห่งสํานักพระร่วงเจ้าในครั้งกระนั้นเรียกว่า "พระราชพิธีจองเปรียง" โดยเฉพาะคําว่าจองเปรียง
พนนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้อธิบายว่า "ชื่อพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธี
จุดโคมรับพระเจ้า ทําในวันเพ็ญเดือนสิบสอง นั่นคือพระราชพิธีจองเปรียงหรือพระราชพิธีลอยกระทงนั้น
เป็นพระราชพิธีสืบเนื่องมาจากพราหมณ์

กรุงสุโขทัยกําหนดพระราชพิธีจองเปรียง ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นวันนักขัตฤกษ์ชักโคมลอย บรรดา
ข้าราชการ ประชาชนต่างก็ประดิษฐ์ตบแต่งรู)โคมลอยอย่างวิจิตรสวยงามประกวดประขันกัน ครั้งนั้นนางนพ
มาศก็ได้ประดิษฐ์โคมเป็นรูปดอกกระมุด สีสรรสวยสดงดงาม แปลกกว่าโคมของคนอื่นๆมาก

ครั้นถึงตอนคํ่าสมเด็จพระร่วงเจ้าเสด็จทอดพระเนตรเห็นโคมดอกกระมุดของนางนพมาศ สวยเด่นเป็นสง่า
มากกว่าคนอื่นๆ ก็ทรงแปลกพระทัย ตรัสถามถึงสาเหตุที่ประดิษฐ์โคมชนิดนี้ขึ้น ก็ทรงได้รับคําตอบจาก
นางว่า เป็นโคมประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะงานนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน ๑๒ มีชื่อว่าดอกกระมุด ก็ทรงปลาบ ปลื้มพระทัยมาก พร้อมกับทรงรับสั่งว่า ต่อไปนี้ถ้าเป็นงานนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน ๑๒ ก็ให้กระทําโคม
ดอกกระมุด เพื่อบูชาพระพุทธมหานัมมทานทีตลอดไป

จึงเกิดพระราชพิธีลอยกระทงขึ้นเป็นครั้งแรก แห่งราชสํานักในกรุงสุโขทัย ในครั้งกระนั้น จัดขึ้นเป็น
พิธีใหญ่ เมื่อถึงวันสําคัญดังกล่าวนี้ราษฎรทั้งชายและหญิงต่างก็ตกแต่งโคมชักโคม และแขวนโคมลอย
กันทั่ววัด และทุกบ้านครัวเรือน ครั้นพอตกกลางคืนก็เล่นมหรสพฉลองรื่นเริงกันถึงสามคืน

ส่วนบรรดาข้าราชการฝ่ายราชสํานักก็ตกแต่งโคมประเทียบบริวารวิจิตรด้วยลวดลายวาดเขียนเป็นรูปและ
สัญฐานต่างๆ ประกวดประขันกันเรียงรายตามแนวโคมชัยเสาหงส์ตรงหน้าพระที่นั่งชัยพิมาน ถวายเป็นที่พระ
มหากษัตริย์ทรงอุทิศสักการบูชา พระมหาบรมเกศาธาตุจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์

พระราชพิธีจองเปรียงในสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เรียกว่า "ลอยกระทงทรงประทีป" เป็นพระราชพิธี แต่ถ้า
เป็นพิธีของราษฎรชาวบ้านก็จะพากันเรียกสั้นๆว่า "พิธีลอยกระทง" โดยตราบมาจนทุกวันนี้

วันเพ็ญเดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายน ชาวไทยเราได้จัดงานวันลอยกระทงนี้ขึ้นในหลายจังหวัดโดย
กําหนดจัดงานกันตามสถานที่ราชการร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ตามวัด หรือตามสถานที่ๆ ใกล้เคียงกับ
แม่นํ้า ลําคลอง บึง และสระใหญ่ เป็นต้น

พิธีลอยกระทง โดยการนํากระทงที่ประดิษฐ์ด้วยใบตองด้วยดอกไม้ ด้วยโคม ฯลฯ ด้วยตัวเราเองหรือไปซื้อจาก
สถานที่จัดจําหน่ายในพิธี ในกระทงจะปักธูป ๓ ดอกเทียนย่อมสีเหลือง ๑ ดอก ก่อนจะลอยกระทงลงนํ้าจะ
ต้องจุดธูปเทียนให้ติดเสียก่อน แล้วตั้งจิตอธิฐานอย่างหนึ่งอย่างใดลงไป บางรายก็ใส่เศษสตางค์ ธนบัตร
ย่อยลงไปในกระทง เพื่อเป็นการทําบุญเสดาะเคราะห์ลงในแม่นํ้าคงคา

การอธิฐานนั้น ส่วนมากก็เพื่อให้ตนเองมีความสุขความสบาย มีโชคมีลาภ กับให้สี่งที่ไม่ดีเลวร้ายติด
ตัวเราก็ขอให้ไหลไปตามแม่นํ้า ซึ่งถือเป็นการเสดาะเคราะห์ บางกลุ่มก็ขอคารวะโทษแด่แม่คงคา
ที่มนุษย์เราทําสี่งสกปรกต่างๆลงไปในนํ้า เมื่อทําพิธีนี้แล้วตนเองก็จะได้อยู่เย็นเป็นสุข จิตใจสงบ
เยือกเย็นเหมือนพระคงคาเมื่อตั้งจิตแน่วแน่ดีแล้วก็ลอยกระทงไปตามนํ้า ก็เป็นอันเสร็จพิธีลอยกระทง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น